ตำรวจแจงไม่ได้ขัดแย้งหมอพรทิพย์
พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ ที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวในรายการ เก็บตกจากเนชั่น ทาง TTV1 เกี่ยวกับความขัดแย้งกับพ.ญ.คุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ รองผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เกี่ยวกับการชันสูตรศพ ผู้เสียชีวิตจากคลื่นสึนามิ ยันไม่มีความขัดแย้งและเชื่อฝีมือการทำงาน
@ ได้คุยกับคุณหมอพรทิพย์หรือยัง
ยังไม่ได้คุย แต่ทางผู้ใหญ่มาเคลียร์ให้เรียบร้อยแล้วว่า ข้อมูลมันควรจะอยู่ในศูนย์เดียวกัน เพราะกระบวนการตรวจสอบเป็นส่วนหนึ่งของการพิสูจน์เอกลักษณ์ การที่จะพิสูจน์เอกลักษณ์ได้นั้น ต้องให้ตำรวจทั่วโลกไปสัมภาษณ์ครอบครัวของบุคคลสูญหาย เก็บหลักฐาน เช่น ภาพถ่าย มีการทำฟันที่ไหน หรือมีลายมือติดที่แก้วหรือไม่ แม้กระทั่งแปรงสีฟันก็จะเก็บมาตรวจหาดีเอ็นเอ การตรวจทำได้ 2 ระบบ คือ นอล ดีเอ็นเอ เรียกว่าถ้าเผื่อมีลายนิ้วมือ ก็ตรวจลายนิ้วมือ
ถ้าหากมีสิ่งของประจำตัว รวมทั้งแหวน บัตรประจำตัว ถ้ามันตรงกันก็ใช้ได้ ตำรวจต่างประเทศจะเป็นคนไปเก็บข้อมูลมาให้ แล้วจะต้องเอามาเข้าอินตาโฟ ดาต้าเบทเดียวกัน
ถ้าแยกดาต้าเบท ภาษาอังกฤษกับภาษาไทย ทำงานด้วยกันไม่ได้ เพราะมันคนละระบบกัน ไม่มีอะไร ผู้ใหญ่สั่งให้ส่งข้อมูลมาก็จบ ไม่มีความขัดแย้งเรื่องมาตรฐานหรอก ถ้าไม่มีข้อมูลมา ก็ต้องตรวจใหม่ ถ้ามีข้อมูลมาก็มาดูว่า เรียบร้อยหรือไม่เท่านั้นเอง ไม่ได้ขัดแย้ง และไม่มีปัญหาเรื่องมาตรฐานใดๆ ทั้งสิ้น
@ ที่ให้ข้อมูลมารวมอยู่ที่เดียวกัน หมายถึงศูนย์ที่ภูเก็ตหรือไม่
ใช่ครับ เมื่อวานคุณหญิงพจมาน ภริยาท่านนายกฯมาดูแล้ว เห็นระบบแล้ว ว่ามันจะต้องทำควบคู่กับต่างประเทศ เพราะทางโน้นก็จะเก็บข้อมูลมาเหมือนในเมืองไทย เวลามีผู้สูญหาย กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ไปรายงานที่อำเภอ ตำรวจจะไปช่วยสอบปากคำให้ ก็ไปเก็บหลักฐานมา ก็ส่งมาต้องเอาข้อมูลมาประมวลเข้า แล้วเอาข้อมูลมาแม็ทกัน ว่าแม็ทกับที่ได้จากศพหรือไม่
ทีนี้การแม็ทข้อมูลที่ได้จากศพทั้ง 2 ส่วน คนสูญหายอาจจะมี 10,000 รายการทั่วโลก แต่ศพอาจจะมี 3,000 ฉะนั้นต้องเอาทีละ 1 รายการของ 10,000 มาแม็ทกับ 3,000 ต้องใช้ระบบคอมพ์ ถึงจะแม็ทกันได้ แต่ถ้าแม็ทแล้วทำ อย่างไรถึงจะยืนยันได้ ก็ต้องพิมพ์ออกมาเป็นฮาร์สก็อปปี้ ใส่กระดาษมา แล้วพอได้ข้อมูลที่เชื่อว่าตรงกันแล้ว ต้องส่งให้คณะกรรมการพิสูจน์เอกลักษณ์ ซึ่งมีนายแพทย์ตำรวจ กระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่กรมการปกครอง พนักงานสอบสวนต้องช่วยกันดู
ถ้าพอใจในการแม็ทแล้ว ถึงจะอนุญาติให้ปล่อยได้ ถ้าไปต่างประเทศ กระทรวงต่างประเทศต้องทำหนังสือยืนยันว่า ได้มอบหมายให้ Mr A หรือ Mr B มารับศพแทน ทำนองนี้ เพื่อส่งกลับไปบ้านเขา ถ้าเป็นคนไทย ประเทศไทย ก็จะออกใบมรณะบัตรให้
@ ตอนนี้มีข้อมูลอยู่ที่หมอพรทิพย์ประมาณกี่ศพ
ที่พังงาเรายังไม่ได้มาเลย ถ้าได้มาจะทำให้งานเร็วขึ้น และจะจบได้ง่าย
@ คาดว่ามีสักกี่ศพที่เราอยากจะได้มา
ก็หลายพันเหมือนกัน
@ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า ศพไหนตรวจละเอียด ศพไหนตรวจไม่ละเอียด
เขาก็มีผู้เชี่ยวชาญ เช่น ทีมของศิริราช เขาไปเยี่ยมทีมตรวจพิสูจน์ของศิริราช เขาก็พอใจว่าทำได้ดี และเยี่ยมศูนย์รามา ไปขอดูกับหมอและคุยกัน ดูข้อมูลกัน ก็ใช้ได้ เขาก็พอใจเช่นเดียวกัน คือมาตรฐานเราไม่มีปัญหา ถ้าไม่เอาข้อมูลมาใส่ถังเดียวกัน มันก็พอได้ ข้อมูลเป็นภาษาอังกฤษมาเป็นคนสวีเดน เป็นเยอรมัน แล้วต้องมาแปลงเป็นข้อมูลไทย เพื่อเอามาตรวจแบบข้อมูล หมอพรทิพย์ทำไม่ได้แค่นั้นเอง
@ ไม่จำเป็นต้องตรวจใหม่ทุกศพ
ไม่จำเป็น ก็เฉพาะที่คิดว่า ถ้าเผื่อว่ามันมีอะไรต้องเพิ่มเติม ก็เพิ่มเติมเท่านั้นเอง
@ คำว่าเพิ่มเติมทางเราตัดสินใจเอง หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ
ต้องเรียนว่า ต้องแบ่งงานกันทำ เราชำนาญเรื่องสืบสวนสอบสวน เราก็ทำงานด้านสืบสวนสอบสวน
@ เท่าที่ทราบทีมของหมอพรทิพย์ ก็ร่วมมือกับต่างประเทศ ด้วยปัญหาคือ ภาษาหรืออะไรในการเก็บข้อมูล
ทางผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ติดต่อมาผ่านทางชานอลอินเตอร์โฟ ก็คือตำรวจจะส่งไปหาหมอพรทิพย์ทำงานร่วมกัน ทำงานเสร็จ ก็เอากลับมาที่ศูนย์ที่ภูเก็ต แต่เพียงว่า นั่นคือข้อมูลดีวีไอที่ทำ แต่ว่าข้อมูลที่หมอแพทย์ไทยที่อยู่ในทีมหมอพรทิพย์ทำ เผอิญข้อมูลยังมาไม่ถึงเท่านั้นเอง มันถึงได้มีปัญหา
@ แล้วทำไมคุณนพดลถึงเพิ่งออกมาทำช่วงนี้
ไม่ใช่เพิ่งทำ ทำมาตั้งแต่ต้นแล้ว เพียงแต่ว่า มาถึงจุดที่จะต้องเอาข้อมูลมารวมกัน ก็ไม่มาสักที ก็ได้เคลียร์กับผู้บังคับบัญชาแล้ว แต่มันก็ไม่มาเท่านั้นเองไม่มีอะไร
@ หมอพรทิพย์บอกว่า ตอนที่ท่านลงไปดูที่วัดย่านยาวครั้งแรก ท่านไม่ได้พูดถึงแบบฟอร์มที่ได้มาตรฐานการกรอกรายละเอียดศพเลย
ได้ติดต่อทางผู้ที่ทำหน้าที่ของคุณหมอ คุณหมอเหนื่อยอยู่แล้ว ไม่อยากรบกวน ผมขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่ไปทำ และผู้บังคับบัญชาคุณหมอด้วย ที่เราพูดว่า ถ้าข้อมูลไม่มาก็ต้องทำใหม่ เพราะว่าจะต้องเขามาเข้าฐานเดียวกันให้ได้ ไม่งั้นมันตรวจไม่ได้
@ ด้านตำรวจลงพื้นที่ช่วยในการพิสูจน์ศพอย่างไรบ้าง
ตำรวจท้องที่เขาลงไปช่วยอยู่แล้ว คือหลักการปฏิบัติเมื่อเหตุเกิด พนักงานสอบสวนก็ลงไป เห็นว่ามีการตายเกิดขึ้น ก็ขอความร่วมมือจากหมอนิติเวช ไปตรวจว่าผู้ตายตายอย่างไร และหมอก็จะเก็บหลักฐานส่งให้ตำรวจ ตำรวจก็จะทำหนังสือส่งกลับไปเช่น รามา ศิริราช ช่วยตรวจด้านวิทยาศาสตร์ให้ด้วย พอตรวจเสร็จเขาจะส่งผลมาที่ตำรวจ ตำรวจจะนำเข้าสำนวนการสอบสวน นี่ก็เหมือนกัน เมื่อคุณหมอพรทิพย์ตรวจให้แล้ว ในหลักที่พึงปฏิบัติ ก็จะต้องส่งกลับให้ตำรวจ ว่าผลถ่ายรูปไว้แล้วอะไรต่างเป็นอย่างไร
@ ในแง่ชันสูตรศพ เจ้าหน้าที่ตำรวจลงมือทำด้วยหรือไม่
เราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ พนักงานสอบสวนไม่ต้องทำ เพราะมีแพทย์นิติวิทยาศาสตร์ทำให้ แพทย์โรงพยาบาลเป็นผู้ทำให้
@ แพทย์นิติเวชมีลงไปช่วยทำหรือไม่
มีครับมีอีก 5 จังหวัดที่ช่วยกันทำอยู่
@ ตอนนี้ได้ขอข้อมูลไปทางหมอพรทิพย์หรือยัง
ฝ่ายผู้บังคับบัญชาได้ทราบกันหมดแล้ว ว่าเราอยากได้ข้อมูลตรงนี้ แต่ข้อมูลยังไม่มาเท่านั้นเอง ซึ่งผู้บังคับบัญชาก็เคลียร์ให้แล้ว จะส่งข้อมูลมาให้เพื่อเข้าศูนย์เดียวกัน
@ จากเหตุการณ์อย่างนี้ ทำให้ยิ่งมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ถึงความขัดแย้งระหว่างหมอพรทิพย์ กับสำนักงานตำรวจแห่งชาติหรือไม่
ไม่ได้ขัดแย้งอะไร เราเชื่อในความรู้ความสามารถ ความตั้งใจของคุณหมอ เพียงแต่ว่า ตำรวจเป็นสมาชิกอินเตอร์โฟ ประเทศไทยก็เป็นสมาชิกยูเอ็นอยู่ สิ่งที่เราได้วางมาตรฐานกันมานานแล้ว เรื่องอินเตอร์เนชั่นนอลดิสดัทเตอร์ เราต้องออนเนอร์อินเตอร์โฟ เมื่อสแตนดาร์ดของไทยไม่ต่ำกว่าใครในโลกนี้หรอก เพียงแต่ว่าต้องเอาข้อมูลมาเข้าเป็นสแตนดาร์ดเดียวกัน
@ อีกนานไหสกว่าจะรวบรวมข้อมูลได้
ถ้าข้อมูลสมบูรณ์ ก็เร็ว ถ้าไม่สมบูรณ์ก็ช้า ถ้ายังไม่ทำก็ยังหาจุดจบไม่ได้
|